วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

ประวัติกีฬาเซปักตะกร้อ

ประวัติกีฬาเซปักตะกร้อ



ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าชาติใดเป็นผู้ให้กำเนิดกีฬาตะกร้อเป็นชาติแรก เพียงแต่ทราบว่ากีฬาตะกร้อหรือกีฬาที่คล้ายกันนี้นิยมเล่นกันมาในหลายชนชาติ เช่น ไทย มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ และชาวไดยัก ของบอร์เนียว นิยมเตะตะกร้อหวาย ส่วนชาวจีน เกาหลี และทางภาคใต้ของไทยนิยมเตะลูกขนไก่ และพัฒนามาเป็นตะกร้อลอดบ่วง ตะกร้อข้ามตาข่าย การเตะตะกร้อ และตะกร้อข้ามตาข่ายแบบเซปัก ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย พ.ศ. 2508 บรรจุการแข่งขันเซปักตะกร้อครั้งแรกในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2524 ก่อตั้งสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2533 บรรจุการแข่งขันเซปักตะกร้อครั้งแรกในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 11























กติกาตะกร้อ กติกาเซปักตะกร้อ กฏกติกาตะกร้อ กฏกติกาเซปักตะกร้อ
กติกาตะกร้อ เซปักตะกร้อ
1.ผู้เล่นประเภทเดี่ยว มีผู้เล่นตัวจริง 3 คน สำรอง 1 คน ประเภททีม ประกอบด้วย 3 ทีม มีผู้เล่น 9 คน และผู้เล่นสำรอง 3 คน


2. ตำแหน่งของผู้เล่น มี 3 ตำแหน่งคือ 2.1 หลัง ( Back ) เป็นผู้เตะตะกร้อจากวงกลม 2.2 หน้าซ้าย 2.3 หน้าขวา3. การเปลี่ยนตัวผู้เล่นในทีมเดี่ยวเปลี่ยนตัวได้ 1 คน และถ้าเหลือน้อยกว่า


3 คน ถือว่าแพ้ ผู้มีชื่อในทีมเดี่ยวที่เล่นมานานแล้ว จะลงเล่นในทีมเดี่ยวต่อไปไม่ได้


4. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกายมีการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงจะได้เลือกข้างหรือส่งลูก ทีมที่ได้ส่งลูกจะได้อบอุ่นร่างกายก่อน เป็นเวลา 2 นาที พร้อมเจ้าหน้าที่และนักกีฬาไม่เกิน 5 คน


5. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูกเสิร์ฟเมื่อเริ่มเล่นทั้ง 2 ทีมพร้อมในแดนของตนเอง ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟจะต้องอยู่ในวงกลมของตนเอง เมื่อเสิร์ฟแล้วจึงเคลื่อนที่ได้ ส่วนผู้เล่นฝ่ายรับจะยืนที่ใดก็ได้


6. การเปลี่ยนส่งให้เปลี่ยนการส่งลูกเมื่อฝ่ายส่งลูกผิดกติกา หรือ ฝ่ายรับทำลูกให้ตกบนพื้นที่ของฝ่ายส่งได้


7. การขอเวลานอกขอได้เซตละ 1 ครั้งๆ ละ 1 นาที


8. การนับคะแนนการแข่งขันใช้แบบ 2 ใน 3 เซต ในเซตที่ 1 และเซตที่ 2 จะมีคะแนนสูงสุด 15 คะแนน ทีมใดได้ 15 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นๆ ทั้ง 2 เซต จะไม่มีดิวส์ หากทั้งสองทีมได้ 13 ก่อน หรือ 14 เท่ากัน พักระหว่างเซต 2 นาที ถ้าเสมอกัน 1:1 เซต ให้ทำการแข่งขันเซตที่ 3 ด้วยไทเบรก โดยเริ่มด้วยการเสี่ยงใหม่ โดยใช้คะแนน 6 คะแนน ทีมใดได้ 6 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่จะต้องแพ้ชนะอย่างน้อย 2 คะแนน ถ้ายังไม่แพ้กันไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ก็ให้ทำการแข่งขันอีก 2 คะแนน แต่ไม่เกิน 8 คะแนน เช่น 8:6 หทรือ 8:7 ถือเป็นการยุติการแข่งขันระบบไทเบรก เมื่อฝ่ายใดก็ตามได้ 3 คะแนน และขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที สำหรับไทเบรก ขอเวลาได้ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาทีแนะนำการดูตะกร้อ
มารยาทในการเล่นที่ดีการเล่นกีฬาทุกชนิด ผู้เล่นจะต้องมีมารยาทในการเล่นและการแข่งขัน ประพฤติปฎิบัติตนให้เป็นไปตามขั้นตอนของการเล่นกีฬาแต่ละประเภท จึงจะนับว่าเป็นผู้เล่นที่ดีและมีมารยาท ผู้เล่นควรต้องมีมารยาทดังนี้ คือ


1. การแสดงความยินดี ชมเชยด้วยการปรบมือหรือจับมือเมื่อเพื่อนเล่นได้ดี แสดงความเสียใจเมื่อตนเอง หรือเพื่อนร่วมทีมเล่นผิดพลาดและพยามปลอบใจเพื่อน ตลอดจนปรับปรุงการเล่นของตัวเองให้ดีขึ้น

2. การเล่นอย่างสุภาพและเล่นอย่างนักกีฬา การแสดงกิริยาท่าทางการเล่นต้องให้เหมาะสมกับการเป็นนักกีฬาที่ดี

3. ผู้เล่นที่ดีต้องไม่หยิบอุปกรณ์ของผู้อื่นมาเล่นโดยพลการ

4. ไม่ว่าจะชนะหรือแพ้ต้องไม่แสดงอาการดีใจหรือเสียใจจนเกินไป

5. ผู้เล่นต้องเชื่อฟังคำตัดสินของกรรมการ หากไม่พอใจคำตัดสินก็ยื่นประท้วงตามกติกา

6. ผู้เล่นต้องควบคุมอารมณ์ให้สุขุมอยู่ตลอดเวลา

7. ก่อนการแข่งขันหรือหลังการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะก็ตาม ควรจะต้องจับมือแสดงความยินดี

8. หากมีการเล่นผิดพลาด จะต้องกล่าวคำขอโทษทันทีและต้องกล่าวให้อภัยเมื่อฝ่ายตรงข้ามกล่าวขอโทษด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส

9. ต้องแต่งกายรัดกุม สุภาพ ถูกต้องตามกติกาที่กำหนดไว้

10. ไม่ส่งเสียงเอะอะในขณะเล่นหรือแข่งขันจนทำให้ผู้เล่นอื่นเกิดความรำคาญ

11. ต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับตามกติกาอย่างเคร่งครัด

12. มีความอดทนต่อการฝึกซ้อมและการเล่น

13. หลังจากฝึกซ้อมแล้วต้องเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย

14. เล่นและแข่งขันด้วยชั้นเชิงของนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ในการเล่นกีฬา
มารยาทของผู้ชมที่ดี


1. ปรบมือให้นักกีฬาและผู้ตัดสินเมื่อเขาดินลงสนาม

2. ปรบมือแสดงความยินดีเมื่อผู้เล่นเล่นได้ดี หรือชนะการแข่งขัน

3. นั่งชมด้วยความสงบเรียบร้อยไม่ส่งเสียงเอะอะ

4. ไม่แสดงท่าทางยั่วยุให้ผู้เล่นขาดสมาธิ

5. ไม่ใช้เสียงเพลงที่มีเนื้อหาหยาบคาย สร้างความแตกแยก

6. อย่าแสดงกิริยาไม่สุภาพหรือใช้วัสดุสิ่งของขว้างปาลงสนาม นักกีฬา หรือกรรมการ

7. ผู้ดูต้องยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสิน

8. ไม่ส่งเสียงโห่ร้องหรือแสดงกิริยาเย้ยหยัน เมื่อผู้เล่นเล่นผิดพลาดหรือผู้ตัดสินผิดพลาด

9. ผู้ดูควรเรียนรู้กติกาการแข่งขันกีฬาชนิดนั้นๆ พอสมควร

10. ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ เมื่อเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นในสนามแข่งขัน

11. สนับสนุนให้กำลังใจและให้เกียรตินักกีฬาทุกประเภทเพื่อเป็นการส่งเสริมการกีฬาของชาติ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น